
คนไทยป่วยเป็นโรคไต เกิน 1.8 ล้านคน และตัวเลขก็มีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี
🧂เค็มถูกใจไตถูกตัด…อาหารที่ทำให้ไตเสื่อมไม่ได้มีแค่รสเค็มจากนำ้ปลาเท่านั้น
กระบวนการผลิตของน้ำปลา เกิดจากการหมัก บ่ม ผสม และด้วยกระบวนการเหล่านี้จึงทำให้มีโซเดียมในน้ำปลาสูง หากเราบริโภคทุกวันในปริมาณที่มาก หรือคนที่ชอบทานอาหารรสจัดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลต่อร่างกายเราแน่นอนค่ะ
นอกจากน้ำปลายังมีอาหารบางประเภทที่ประกอบไปด้วยโซเดียมแฝง ซึ่งอาหารเหล่านี้มีปริมาณโซเดียมสูง ส่วนใหญ่มักมีรสชาติเค็ม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารทุกชนิดที่มีรสชาติเค็ม
ยังมีอาหารที่มีโซเดียมสูงแต่ไม่เค็ม ทําให้เรารับโซเดียมแฝดเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงควรทําความรู้จักอาหารประเภทนี้ไว้ด้วย
เรามาทำความรู้จักโซเดียมแฝงพวกนี้กันดีกว่าค่ะ
- โซเดียมไนไตรต์ ทำให้เนื้อสัมผัสนุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ แฮม ไส้กรอก กุนเชียง แหนม ปลาแห้งต่าง ๆ
- โซเดียมอัลจิเนต (ช่วยให้เกิดการคงตัว)
- โมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส)
- โซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู)
- โซเดียมเบนโซเอต (สารกันบูด)
- โซเดียมซอร์เบต (สารกันเสียในชีส)
ไม่ใช่ว่าห้ามทานเลย แต่ควรทานในปริมาณที่ร่างกายสามารถขับออกได้ หากทานเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน จนเกิดการสะสมมากเกินไป สิ่งที่เป็นประโยชน์จะกลับมาเป็นโทษแทน
📍ฉะนั้นหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารเหล่านี้ หรือทานให้น้อยลงกว่าเดิม เพื่อชะลอไตไม่ให้เสื่อมก่อนวัย
- หลีกเลี่ยงเครื่องปรุง หรือปรุงให้น้อยๆ
- หลีกเลี่ยง หรือลดอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป
- หลีกเลี่ยง หรือลดขนมกรุบกรอบ
- หลีกเลี่ยงการซดน้ำแกง น้ำซุป น้ำยำ และน้ำที่ได้จากการผัดปรุงแล้ว
- หลีกเลี่ยง หรือลดอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป (อาหารแช่แข็งเหล่านี้จะต่างจากอาหารสดที่เราไปซื้อตามตลาดแล้วนำมาแช่ช่องแข็งนะคะ)
- หลีกเลี่ยง หรือลดขนมปัง เพราะมีโซเดียมแฝงจากผงฟู
หรือหากต้องทานลองดูปริมาณโซเดียมหลังฉลากสินค้านะคะ ว่าใน 1 ถุงมีปริมาณโซเดียมเท่าไหร่และต้องแบ่งทานอย่างไร ฉลากอาหารจะระบุไว้หมดเลยค่ะ
โดยทั่วไปแล้วสามารถบริโภคโซเดียมสูงสุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่อเทียบเป็นเกลือป่นอยู่ที่ประมาณ 1 ช้อนชาหรือ 6 มิลลิกรัม
📌 เมื่อร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป จะส่งผลให้ร่างกายดังนี้
- มีอาการบวม ไม่ว่าจะเป็นมือบวม เท้าบวม หน้าบวม
- กระหายน้ำ กินน้ำเท่าไหร่ก็ยังหิวน้ำมาก
- ความดันโลหิตสูง
โซเดียมทานให้พอเหมาะดีต่อไต ทานมากเกินไปไตไม่ดีแน่ๆ มาเริ่มรักษ์ไตกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก Line : RamaChannel
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaihealth.or.th/
หากมีข้อสงสัย สำหรับการดูแลสุขภาพไต วิธีการคุมอาหาร หรือ สนใจ หนังสือ กินดีไตดีอายุยืน
แนะนำ แอดไลน์ Line : @GEL88
เรามีผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ไต
#โรคไต #ไตเรื้อรัง #ไตวาย #ฟอกไต